WHAT'S NEW?
Loading...

การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ด้วย Arrow Control (ตอนที่ 1) - แนะนำซอฟต์แวร์



ทั่วไปการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ รวมถึงอุปกรณ์สมองกลฝังตัว (Embedded Systems) มักจะใช้ภาษาแบบตัวอักษร (Text programming language) ในการพัฒนา เช่น C/C++ Python Java เป็นต้น แต่ด้วยโครงสร้างการเขียนโปรแกรมที่ดูยาก ซับซ้อน และไม่เหมือนภาษาในชีวิตประจำวัน จึงไม่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้โดยเฉพาะเด็กๆ



ซอฟต์แวร์ภาษาภาพจึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น โดยในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ภาษาภาพอยู่หลายภาษา ซึ่งมีความเหมาะสำหรับงานรูปแบบแตกต่างกันไป สำหรับ Arrow Control เป็นซอฟต์แวร์สำหรับควบคุมระบบอัตโนมัติ (Automation) บนแพลตฟอร์ม AtRobt ที่พัฒนามาจาก Arduino (อธิบายง่ายๆคือถ้าวงจรควบคุมต่อแบบเดียวกับที่ AtRobt ออกแบบไว้ ก็สามารถใช้กับซอฟต์แวร์ Arrow Control ได้ ดูลายละเอียดที่นี่) ตัวซอฟต์แวร์เป็น Free License สามารถใช้ได้ฟรีสำหรับ งานส่วนบุคคล และงานเพื่อการศึกษา แต่ไม่สามารถใช้ในเชิงการค้าได้ ตอนนี้ซอฟต์แวร์สารมารถใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ Windows XP SP3 Window 7 และ Windows 8 โดยเป็นแบบ Portable สามารถ Unzip แล้วดับเบิ้ลคลิ้กที่ arrowcontrol.exe ก็สามารถใช้งานได้ทันที ดาวน์โหลดได้จากที่นี่



โดยแต่ละส่วนของ Arrow Control จะมีเครื่องมือสำหรับช่วยสร้างแผนภาพที่มีหน้าที่แตกต่างกันไป


Arrow Control เป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นใช้ภาพเป็นหลัก สามารถเขียนคำสั่งความคุมได้หลากหลาย โดยแบ่งกลุ่มคำสั่งเป็น 5 กลุ่ม คลิ้กที่รูปกลุ่มคำสั่งหลักแล้วกลุ่มคำสั่งย่อยจะเปลี่ยนตาม

การใช้งานเพียงแค่ลากวางบล็อกก็สร้างสามารถสร้างคำสั่งควบคุมได้อย่างง่ายดาย

การจัดเรียงภาพจะใช้การคลิ้กที่บล็อกหรือกลุ่มบล็อกที่เลือกไว้ แล้วจึงลากวางไปยังเส้นที่ต้องการจะแทรก แต่จะมีบางเส้นที่ไม่สามารถแทรกได้ คือ เส้นทางย้อนกลับของ Loop และ เส้นทางที่ต่อจากบล็อกแบบทางแยก (Junction)


คลิ้กขวาที่บล็อกสำหรับการเปลี่ยนค่าตัวแปร เมื่อปรับค่าเสร็จก็กด Ok แต่บางบล็อกที่ไม่สามารถปรับค่าตัวแปรได้จะมีหน้าต่างเตือนขึ้นมาแทน

วิธีลบบล็อกจะต้องเลือกบล็อกหรือกลุ่มบล็อกก่อนกดปุ่ม Delete หรือคลิ้กที่ปุ่มรูปถังขยะ อีกวิธีหนึ่งก็คือคลิ้กที่บล็อกหรือกลุ่มบล็อกที่เลือกไว้ แล้วลากวางไปยังพื้นที่ว่างบนแผนภาพก็สามารถลบได้เหมือนกัน

สำหรับการเลือกบล็อกเพิ่ม จะเริ่มเลือกบล็อกหรือกลุ่มบล็อกไว้ก่อน แล้วจึงกดปุ่ม Shift ค้างไว้ ก่อนคลิ้กบล็อกหรือเลือกกลุ่มบล็อกเพิ่ม อีกวิธีหนึ่งก็คือเปลี่ยนจากกดปุ่ม Shift เป็นคลิ้กปุ่มรูปสี่เหลี่ยมเส้นปะที่ซ้อนๆกัน (Multiple Selection) แล้วจึงคลิ้กบล็อกหรือเลือกกลุ่มบล็อกเพิ่ม

ส่วนการคัดลอก ก็เริ่มจากการเลือกบล็อกหรือกลุ่มบล็อกไว้ก่อน แล้วจึงกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ ก่อนคลิ้กบล็อกหรือเลือกกลุ่มบล็อกลากไปวางยังเส้นทางที่ต้องการ หรือจะเปลี่ยนจากกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ เป็นการคลิ้กปุ่มรูปแผ่นกระดาษซ้อนกัน แล้วจึงคลิ้กบล็อกหรือเลือกกลุ่มบล็อกลากไปวางก็ได้เหมือนกัน


สุดท้ายนี้ลองทดสอบเขียนแผนภาพตามที่ต้องการ แล้วจะรู้ว่าการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ไม่ยากอย่างที่คิด หากมีข้อสงสัยสามารถโพสถามกันได้เลย ส่วนตอนต่อไปจะแนะนำการเขียนโปรแกรมควบคุมมอเตอร์และเซอร์โวมอเตอร์ครับ...

Update!!! 10 ส.ค. 2558

0 comments:

Post a Comment